ต้นพยอม ไม้มงคล
ต้นพยอม ไม้มงคล พะยอม เป็นไม้ยืนต้นประเภทพืชใบเลี้ยงคู่ชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ Dipterocarpaceae พบได้ในกัมพูชา, อินเดีย, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, ไทย และเวียดนาม[1] มีลักษณะใบที่เรียงสลับกัน ดอกมีสีขาว กลิ่นหอม นิยมนำเนื้อไม้ไปใช้ในการก่อสร้าง ลักษณะคล้ายกับต้นตะเคียน
พะยอมมีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ อีก คือ กะยอม (เชียงใหม่) ชะยอม (ลาว) กะยอม (อีสาน) ขะยอมดง พะยอมดง (ภาคเหนือ) แคน (ร้อยเอ็ด) เชียง เชี่ยว (กะเหรี่ยง – เชียงใหม่) พะยอม (ภาคกลาง) พะยอมทอง (สุราษฎร์ธานี, ปราจีนบุรี) ยางหยวก (น่าน)
การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ
มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและเอเชีย เช่น ประเทศพม่า ลาว ศรีลังกา และฟิลิปปินส์ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ มีความสูงประมาณ 15-20 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นอาจยาวถึง 300 เซนติเมตร เปลือกต้นมีสีน้ำตาลหรือสีเทาเข้ม แตกเป็นร่องตามยาวและเป็นสะเก็ดหนา ส่วนเนื้อไม้มีสีเหลืองถึงสีน้ำตาล ลักษณะของต้นเป็นทรงพุ่มกลมสวยงามมาก แตกกิ่งก้านจำนวนมาก ถ้าหากปลูกในที่โล่งแจ้งและไม่มีพรรณไม้ใหญ่ชนิดอื่นอยู่ใกล้ ๆ เป็นต้นไม้ที่สวยโดยธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องทำการตัดแต่งกิ่งแต่อย่างใด ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง ซึ่งในปัจจุบันพันธุ์ไม้ชนิดนี้กำลังเริ่มลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ โดยสามารถพบได้ตามป่าเบญจพรรณแล้งและชื้น หรือป่าดิบแล้งทั่วไป ทุกภาคของประเทศที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 60-1,200 เมตร และดอกพะยอมยังเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ด้วย
ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
พะยอมเป็นไม้ต้นสูง 15–30 เมตร เปลือกสีเทาเข้มแตกเป็นร่อง ใบเดี่ยวออกสลับ รูปขอบขนานกว้าง 3.5–6.5 เซนติเมตร ยาว 8–15 เซนติเมตร ปลายมนหรือเป็นติ่งสั้น ๆ โคนมน ขอบเป็นคลื่นผิวเกลี้ยงเป็นมัน ดอกสีขาว กลิ่นหอมจัด ออกเป็นช่อใหญ่ตามกิ่งและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน กลีบดอก 5 กลีบ เรียงเวียนกันแบบกังหันเมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 1–2 เซนติเมตร เกสรตัวผู้ 15 อัน ผลรูปรีกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงเจริญไปเป็นปลีกยาว 3 ปีกสั้น 2 ปีกคล้ายผลยาง
ลักษณะต้นไม้
เป็นไม้ยืนต้นประเภทพืชใบเลี้ยงคู่ชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ Dipterocarpaceae พบได้ในกัมพูชา, อินเดีย, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, ไทย และเวียดนาม มีลักษณะใบที่เรียงสลับกัน ดอกมีสีขาว กลิ่นหอม นิยมนำเนื้อไม้ไปใช้ในการก่อสร้าง ลักษณะคล้ายกับต้นตะเคียน
ใบ
ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน โคนใบสอบมนปลายใบแหลม ขอบเรียบเป็นคลื่น ด้านหลังใบจะมีเส้นใบมองเห็นชัดเจน ใบมีความยาวประมาณ 12-18 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 6-8 เซนติเมตร
ดอก
ออกดอกเป็นช่อใหญ่ ออกดอกตามส่วนยอดของต้นดอกมีสีเหลืองอ่อนและมีกลิ่นหอม ดอกมีกลีบ 3 กลีบ กลีบดอกเรียบโค้งเล็กน้อย ยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร โคนกลีบดอกติดกับก้านดอก มีลักษณะกลม ออกดอกพร้อมกันเกือบทั้ง
ต้น โดยจะออกดอกในช่วยเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
ผล
ผลแห้งมีปีกแบบ Samara ลักษณะเป็นทรงไข่และกระสวย ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ซ่อนตัวอยู่ในกระพุ้ง โคนปีกมี 5 ปีก ประกอบด้วยปีกยาวรูปขขนาน 3 ปีก ยาวประมาณ 8 เซนติเมตร มีเส้นตามยาวของปีกประมาณ 10 เส้น และปีกสั้นมี 2 ปีก มีความยาวไม่เกิน 3 เซนติเมตร ในผลมีเมล็ดหนึ่งเมล็ด ออกผลในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม
การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์ไม้พะยอมที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันคือ การขยายพันธุ์โดยการผลิตกล้าจากเมล็ด เนื่องจากสามารถผลิตกล้าได้เป็นจำนวนมากในเวลาอันสั้น นอกจากขยายพันธุ์โดยเพาะเมล็ดแล้ว พะยอมยังสามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีอื่น ๆ อีก คือ การปักชำเหง้า ตอนกิ่ง และในปัจจุบันนี้ยังสามารถนำความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพมาประยุกต์ใช้ในการขยายพันธุ์พะยอมได้อีกด้วยโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากส่วนตายอดและแขนง
การปลูก การเจริญเติบโต
ควรขุดหลุมให้กว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร ลึก 1 เมตร และ ตากดินที่ขุดไว้นานประมาณ 1–2 อาทิตย์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคในดิน
ช่วงเวลาการปลูก
การปลูกต้นไม้ควรทำการปลูกในช่วงต้นฤดูฝน เพราะทำให้กล้าไม้มีการเจริญเติบโตดีและมีอัตราการรอดตายสูง ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการย้ายปลูกควรอยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกรกฏาคม หากปลูกล่าช้าออกไปจะทำให้กล้าไม้มีการเจริญเติบโตที่ไม่ดีและมีอัตราการรอดตายต่ำ
ก่อนที่จะทำการย้ายกล้าไม้ไปปลูกประมาณ 1 เดือน ควรทำให้กล้าแกร่ง (hardening) เพื่อที่จะให้กล้าไม้เคยชินกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ปลูก ซึ่งจะทำให้มีอัตราการรอดตายสูง โดยมีวิธีการปฏิบัติคือ ลดการให้น้ำซึ่งปกติ………ก็ควรลดการให้น้ำเหลือเพียงวันละครั้ง คือให้น้ำเฉพาะช่วงเช้าเพียงครั้งเดียวประมาณ 1 อาทิตย์ หลังจากนั้นก็ลดการให้น้ำเป็นวันเว้นวัน และในกรณีที่กล้าไม้อยู่ในเรือนเพาะชำ ก็ควรย้ายกล้าไปไว้ในพื้นที่โล่งแจ้งเพื่อให้รับแสงแดดเต็มที่
ระยะปลูกที่เหมาะสม
สำหรับการปลูกควรจะปลูกระหว่างเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงต้นหรือกลางฤดูฝนและควรใช้ต้นกล้าที่เพาะจากเมล็ดไปปลูกซึ่งระยะปลูกที่ใช้ปลูกกันคือระยะ 3×3 หรือ 2×3 เมตร ก่อนนำไปปลูกควรใส่ปุ๋ยต้นละ 1 ช้อนชา เพื่อให้กล้าไม้มีปริมาณธาตุอาหารที่เพียงพอในช่วงระยะแรกของการตั้งตัว และสามารถแข่งขันกับวัชพืชได้ ในระยะเริ่มแรกการปลูก ควรให้น้ำทุกวันถ้าฝนไม่ตก เป็นต้นไม้ที่ไม่กลัวน้ำท่วม ฉะนั้น แม้ตามโคนต้นจะมีน้ำขังบ้างก็ไม่ถึงกับเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตและควรกำจัดวัชพืชบริเวณรอบ ๆ ต้นด้วย ต้นไม้ที่มีความเจริญเติบโตดีจะให้ผลเมื่ออายุได้ประมาณ 6 ปี
สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการลงทุนปลูก
1 ลักษณะของพื้นที่
การปลูกให้ได้ผลดี ต้องเลือกพื้นที่ ที่เหมาะสมต่อการเติบโตของต้นไม้
ขึ้นอยู่กับปัจจัยสิ่งแวดล้อมของพื้นที่นั้น กล่าวคือ เป็นที่ลุ่มใกล้แม่น้ำ หรือที่ไม่ใช่ที่โนน และดินลูกรัง โดยทั่วไป มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติในท้องที่ภาคกลาง ภาคอีสาน ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ สามารถเติบโตได้ดี สำหรับพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมในการปลูกคือ ที่โนนแห้งแล้ง ห่างแหล่งไกลแหล่งน้ำ
2 ขนาดของพื้นที่
ขนาดของพื้นที่เป็นปัจจัยสำคัญ ที่ผ่านมาผู้ปลูกได้มีการยกเลิกปลูกต้นไม้ เนื่องจากมีพื้นที่จำกัด ส่วนที่ยังดำเนินการปลูกต่อเนื่องอยู่ เนื่องจากมี พื้นที่ว่างเปล่าไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือมีพื้นที่มากเพียงพอต่อการทำการเกษตร
ดังนั้นรูปแบบการปลูก และการจัดการให้เหมาะสมกับขนาด ของพื้นที่ จะเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินงานปลูกให้ประสบผลสำเร็จ
โดยพื้นที่ขนาดใหญ่อาจปลูกเป็นแถวเป็นแนว เพื่อสะดวกในการบริหารจัดการ
สำหรับพื้นที่น้อยกว่า 20 ไร่
ควรพิจารณารูปแบบการปลูก ดังนี้
1) การใช้ระบบวนเกษตร การปลูกผสมผสาน และการปลูกไม้หลายชั้น
2) การกำหนดสัดส่วนการใช้พื้นที่ให้เหมาะสมระหว่างสักกับพืชเกษตร
3) ควรมีการรวมกลุ่มผู้ปลูกสักในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อให้มีวัตถุดิบเพียงพอ
ต่ออุตสาหกรรม รวมกันในการบริหารจัดการ การบำรุงดูแลรักษา การแปรรูป
3. การปลูกและกาจัดการ
การคัดเลือกกล้าไม้ ควรเลือกกล้าที่ได้ขนาดไปปลูกก่อน ซึ่งสามารถคัดเลือกได้ง่ายจากการที่ได้มีการจัดเรียงลำดับความสูงของกล้าไม้ตั้งแต่แรกแล้ว และก่อนที่จะนำไปปลูกควรรดน้ำกล้าไม้ให้ชุ่มโชกเสียก่อน
การกำหนดระยะปลูก หรือความหนาแน่นของต้นไม้นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างเช่น วัตถุประสงค์ของการปลูก ลักษณะพื้นที่ วิธีการปฏิบัติงาน และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานเป็นต้น การควบคุมวัชพืชจะเป็นปัจจัยสำหรับการกำหนดระยะปลูกและการเจริญเติบโตของกล้าไม้ถ้าแรงงานในการกำจัดวัชพืชมีน้อย ก็ควรปลูกโดยใช้ระยะปลูกแคบ 2 x 3 เมตร และหลังจากปลูก 1 – 2 เดือน ควรทำการปลูกซ่อมต้นไม้ที่ตาย
ต้นไม้จะมีการเจริญเติบโตดีมาก ถ้าปลูกหรือขึ้นอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเช่น มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอ ฝนตกเฉลี่ยรายปีประมาณ 1,000 มม. เป็นพื้นที่ที่ไม่มีน้ำขัง และดินมีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากมีการปลูกต้นไม้แบบสวนป่ากันน้อยมาก ทำให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของไม้ชนิดนี้ในแต่ละช่วงตลอดอายุตัดฟันมีน้อยมาก
4. ค่าใช้จ่ายในการลงทุน
ที่ผ่านมาการปลูกของภาคเอกชน มีค่าใช้จ่ายแตกต่างกัน ระหว่าง 1,000 – 10,000 บาทต่อไร่ การปลูกให้ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าการลงทุน
ต้องให้ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด ที่ผ่านมาผู้ปลูกบางรายมีการลงทุนที่สูงเกินไป ทำให้มีปัญหาในเรื่องเงินทุน สำหรับค่าใช้จ่ายลงทุนปลูก ส่วนมากจะอยู่ใน
ช่วง 1 – 3 ปีแรก หลังจากต้นไม้อายุ 3 ปี จะสูงพ้นวัชพืช ทำให้ค่าใช้จ่าย
ในการดูแลรักษาน้อยลง สามารถปล่อยให้สักเติบโตตามธรรมชาติ อายุในช่วง
7 – 10 ปี ต้องทำการตัดขยายระยะ ถึงแม้ไม้มีขนาดเล็ก และมีราคาต่ำจำเป็น
ต้องตัดออก เพื่อให้เกิดช่องว่าง ให้ไม้ที่เหลือสามารถเติบโตได้ดีและมีขนาด
ใหญ่ขึ้น สามารถขายได้ราคา คุ้มค่าการลงทุน
การใช้ประโยชน์
1. เนื้อไม้
ไม้พะยอม เหลืองอ่อนหรืออมน้ำตาล มีเส้นสีดำหรือสีน้ำตาลเข้มเป็นเส้นพาดผ่าน และหากทิ้งไว้นานจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล หากมีการแช่น้ำยาจะช่วยให้มีความแข็งแรง และคงทนมาก จึงนิยมใช้ทำหมอนรางรถไฟ การต่อเรือ ก่อสร้างบ้าน เช่น เสา ขื่อ คาน วงกบ ไม้ปูพื้น เป็นต้น
– ไม้พะยอมใช้ทำอุปกรณ์การเกษตร และเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น เกวียน ด้ามเสียม จอบ ครก สาก หีบกระเดื่อง เป็นต้น
– ไม้พะยอมแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ
2. ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์
พยอม สรรพคุณของดอกช่วยบำรุงหัวใจ (ดอก)
สรรพคุณสมุนไพรพยอม ดอกใช้ผสมเป็นยาแก้ไข้ (ดอก)
ดอกใช้ทำเป็นยาหอมไว้แก้ลม (ดอก)
สรรพคุณต้นพยอมช่วยแก้อาการท้องร่วง ท้องเดิน (เปลือกต้น)
เปลือกต้นใช้กินแทนหมาก ช่วยแก้ลำไส้อักเสบได้ (เปลือกต้น)
เปลือกต้นมีสีสาร Tannin มาก สามารถใช้เป็นยาฝาดสมานแผลในลำไส้ได้ (เปลือกต้น)
สรรพคุณพยอมช่วยสมานบาดแผล ชำระบาดแผล ด้วยการใช้เปลือกต้นนำมาฝนแล้วทาบริเวณบาดแผล
ราคาประเมิณมูลค่า
ที่มา
ภาพ