ข่าวประชาสัมพันธ์

หัวหน้าฯ ให้ความสำคัญ “คน” น้อยสุด ต้องเร่งพัฒนาทักษะด่วน

บียอนด์ เทรนนิ่ง เผยผลงานวิจัย จาก วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ ฉบับล่าสุด เรื่อง “กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะของพนักงานองค์กรสู่ผู้นำการเปลี่ยนแปลง” โดยนักวิชาการไทย พบว่า “หัวหน้างานมือใหม่ให้ความสำคัญกับงานบริหารบุคคลน้อยที่สุด” ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ! เร่งด่วนและเป็นประโยชน์ต่อหัวหน้า ลูกน้องรวมทั้งองค์กร หากต้องการความสำเร็จ บียอนด์ เทรนนิ่ง แนะต้องมุ่งเติมเต็มทักษะ เสนอแนวทางแก้ไขต้องทำ Assessment  ประเมินตัวเอง และ Competency โดยหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานประเมิน นับเป็นสิ่งที่ People manager ยุคใหม่จำเป็นต้องมี เพื่อต่อยอดสู่การพัฒนาทักษะที่จำเป็น พร้อมผ่านหลักสูตร E-Learning หรือ Onsite Classroom เพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จขององค์กร…

         ภก.คงเกียรติ  ฉัตรหิรัญทรัพย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท บียอนด์ เทรนนิ่ง จำกัด (Beyond Training) ผู้นำด้านการฝึกอบรมพัฒนาคนในองค์กรชั้นนำของไทย เปิดเผยว่า ในโลกการทำงานยุคใหม่ที่ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงมากมายในแทบทุกมิติ ตำแหน่งหนึ่งในองค์กรที่สำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ นั่นก็คือ ตำแหน่ง “หัวหน้างาน” หรือ “People Manager” เป็นผู้ที่รู้จักลูกทีมและทำงานใกล้ชิดกันมากที่สุด สามารถกระตุ้นหรือโค้ชชิ่งให้ทีมเก่งขึ้น พัฒนาลูกน้องเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดี จนเกิดคำที่ว่า “หัวหน้าดีหรือแย่ให้ดูจากลูกน้อง” แต่ยังเป็นเรื่องที่น่ากังวลเป็นอย่างมากเมื่อ ผลงานวิจัยเรื่อง “กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะของพนักงานองค์กรสู่ผู้นำการเปลี่ยนแปลง”  โดย ผศ. ดร.จิระเสกข์ ตรีเมธสุนทร  และ ผศ. (พิเศษ) ดร.อภิสิทธิ์ ฉัตรทนานนท์ ที่ได้ตีพิมพิ์ลงในวารสาร เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2566 พบว่า “หัวหน้ามือใหม่ให้ความสำคัญกับงานบริหารบุคคลน้อยที่สุด” ทั้งที่เป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนและเป็นประโยชน์ต่อหัวหน้า ลูกน้อง รวมไปถึงองค์กรด้วย

         ข้อมูลจากการวิจัย  เรื่อง “กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะของพนักงานองค์กร สู่ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (The development competency strategies of personnel to be transformational leaders”) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับสมรรถนะของพนักงานองค์กรสู่ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจยุคใหม่ ในกลุ่มตัวอย่างพนักงานองค์กรเอกชนในเขตกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 400 คน

         ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นของพนักงานที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อาทิ ความฉลาดทางอารมณ์  การเป็นแบบอย่างที่ดี การเป็นผู้นำที่ตระหนักรู้ตนเอง  การสื่อสารข้ามสายงาน  การจัดการทีมงานให้มีประสิทธิภาพ  การนำการเปลี่ยนแปลงเพื่อการเติบโต ฯลฯ ตามลำดับ แต่การบริหารงานในรูปแบบโครงการและการบริหารบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ (HR for Non-HR) อยู่อันดับสุดท้าย วิจัยพบว่า สมรรถนะด้านการบริหารบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำสุด เพราะสมรรถนะในด้านการบริหารบุคลากรที่มีประสิทธิภาพเป็นการพัฒนาสมรรถนะในตัวพนักงาน ซึ่งอาจไม่ใช่ผู้รับผิดชอบด้านทรัพยากรบุคคลโดยตรง องค์กรควรจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ควรคู่กับกิจกรรมการบริหารบุคลากรให้เกิดการพัฒนาตามคุณลักษณะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลต่อองค์กรต่อไปในอนาคตอย่างยั่งยืน

         ภก.คงเกียรติ ฉัตรหิรัญทรัพย์ แนะว่า “ การเป็น People Manager ที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจมีการเติบโตแบบก้าวกระโดดเพราะ มีคนเก่งช่วยกันทำงาน ลดค่าใช้จ่ายในการหาคน ลดการสูญเสียโอกาสในทางธุรกิจ ความขัดแย้งในองค์กรลดลง การประสานงานดีขึ้น เพราะจัดการความหลากหลายได้ดี มีความหวังในการก้าวหน้า มีศักยภาพเพิ่มขึ้น จากการได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบโดยหัวหน้า พนักงานมีความสุขในการทำงาน เพราะหัวหน้างานช่วยสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ดีนั่นเอง”

         พร้อมกันนี้ ความสำคัญของ People Manager มีข้อดีมากมายแต่เป็นที่น่าตกใจว่ายังมีหัวหน้างานอีกมากที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนบทบาทสู่ตำแหน่งนี้ได้ ส่วนหนึ่งอาจเพราะตกหลุมพรางทางความคิด หรือมี Mindset ที่ผิด เช่น คิดว่า “หัวหน้าต้องดูทั้ง KPI และยอดขาย ไม่มีเวลามาใส่ใจเรื่องงานบริหารคน”  แต่อย่าลืมว่า ผลลัพธ์จากการทำงานมาจากทีมงานทุกคน แต่หากหัวหน้างานพัฒนาทีม สร้างผลงานผ่านทีมผลลัพธ์จะเท่าทวีคูณโตได้เร็วขึ้น ต้องกล้าที่จะติหรือฟีดแบ็คอย่างตรงไปตรงมา ให้ทีมรู้ว่าต้องพัฒนาอะไรเพื่อผลงานออกมาดี หัวหน้าเองก็จะเติบโตต่อไปเป็นอีกขั้นได้

         นอกจากนี้  People Manager ที่ดีต้องมี 5 องค์ประกอบหลักคือ  (1.) การตระหนักรู้ในศักยภาพที่ขาดหรือที่ไม่ชำนาญ ทั้งนี้สำหรับการเป็น People Manager การทำ Assessment ประเมินตัวเองว่า ตนเองมีหรือยังไม่มี Competency อะไรที่ People manager ยุคใหม่จำเป็นต้องมี โดยหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานประเมินเพื่อต่อยอดสู่การพัฒนาทักษะที่จำเป็น ผ่านหลักสูตร E-Learning หรือ Onsite Classroom ผ่านโปรแกรมหลักสูตร เพื่อเติมเต็มทักษะที่ยังขาดอยู่ (2.) การเปลี่ยน Mindset งานบริหารบุคคลเป็น ความรับผิดชอบ (Accountability) ของหัวหน้า ไม่ใช่เฉพาะของฝ่ายบุคคล หรือ HR (3.) Good Practice Makes Perfect หากเรียนรู้แล้วไม่ลงมือทำ โอกาสที่ความรู้จะหายไปตามเวลามีสูง (4.) การหา Mentor หรือที่ปรึกษาที่ดีที่สุด เพื่อเรียนรู้จากประสบการณ์จริง เรียนรู้แบบ shortcut (ทางลัด) (5.) การมีการให้และรับ Feedback กับลูกน้อง เพื่อสอบถามถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอยู่เสมอ

         อีกทั้ง ทักษะที่ People Manager ยุคใหม่จำเป็นต้องมีเพื่อสร้างผลลัพธ์และได้ใจลูกทีม มีดังนี้ (1.) Effective and Cross Functional Communication หัวหน้างานต้องมีทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ   เพื่อให้เกิดความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดี (2.)  Active Listening หัวหน้างานต้องรับฟังลูกทีมอย่างตั้งใจ เพื่อให้เข้าใจและรับรู้ปัญหาที่แท้จริง เพื่อช่วยเหลือพัฒนาทีมให้เก่งขึ้น (3.) Influential Leadership การใช้สร้างแรงบันดาลใจสำหรับทีมงานที่ไม่ชอบให้ตีกรอบหรือออกคำสั่ง ค้นหาวิธีการทำงานเพื่อปลุกไฟสร้างแรงกระตุ้นในการทำงาน (4.) Inclusive Leadership หัวหน้าที่ลูกน้องให้เกียรติ คือ หัวหน้าที่ตรงไปตรงมาไม่มีอคติ ประเมินคนจากผลงานไม่ใช่ความรู้สึก

         “ผู้ที่เป็นหัวหน้าต้องประเมินตนเองว่า มีทักษะเหล่านี้ครบแล้วหรือยัง หรือถ้ามีแล้ว สามารถทำได้ดีมากน้อยแค่ไหน หากผู้บริหารองค์กรต้องการจะยกระดับผู้นำ ปรับ mindset หัวหน้างาน ให้เห็นถึงความสำคัญของการเป็นหัวหน้างานที่เก่งการบริหารคน (People Manager) ทั้งนี้ Beyond Training ได้รวบรวมทักษะจำเป็นสำหรับการเป็น People Manager ไว้ในโปรแกรมหลักสูตรการพัฒนาหัวหน้า Adaptive Leadership ที่มีทั้งการ Assessment สำหรับประเมิน Competency ของหัวหน้างานก่อนเริ่มเรียนรู้ พร้อมกับมาตรฐาน Learning Methodologies ที่หลากหลายรูปแบบทั้ง E-Learning, Workshop class  รวมทั้ง Tools และ Handbook เตรียมพร้อมหัวหน้างานภายใน 90 วันแรก ปิดท้ายด้วยการวัดผลพัฒนาศักยภาพผู้นำด้วย Business Assignment Canvas ทั้งหมดนี้เพื่อช่วยขัดเกลาผู้นำสู่ผู้นำยุคใหม่ ที่เก่งทั้งบริหารงานและบริหารคน พร้อมเผชิญกับความท้าทายต่างๆตลอดเวลาสามารถดูรายละเอียดได้ที่www.Beyondtraining.in.th” ประธานกรรมการฯ กล่าวในท้ายสุด

ภก.คงเกียรติ.JPG

Email

PR_News