ข่าวประชาสัมพันธ์

เทเลนอร์ เอเชีย เผยผลจากการศึกษา ชี้ตัวขับเคลื่อนทางทั้ง 5 ที่น่าสนใจเพื่อยกระดับชีวิตดิจิทัลของชาวไทยให้ดีกว่าเดิม

เทเลนอร์ เอเชีย เผยผลจากการศึกษา ชี้ตัวขับเคลื่อนทางทั้ง 5 ที่น่าสนใจเพื่อยกระดับชีวิตดิจิทัลของชาวไทยให้ดีกว่าเดิม

· คนไทยมีการเชื่อมต่อบนโลกออนไลน์มากที่สุดของเอเชีย: โดยร้อยละ 86 ของคนไทยใช้เวลามากกว่าครึ่งวันบนโทรศัพท์มือถือ และจะมีการเพิ่มขึ้นในอีก 1 ถึง 2 ปีข้างหน้ากว่าร้อยละ 83

· ธุรกิจไทยกำลังเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ณ ที่ทำงาน: เกือบสองในสาม หรือร้อยละ 66 เชื่อว่าการใช้ AI ในที่ทำงานจะเพิ่มขึ้นในอีก 6 เดือนข้างหน้า ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในเอเชีย

· โทรศัพท์มือถือถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายเป็นเครื่องมือในการจัดการค่าครองชีพที่สูงขึ้น: ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ท้าทาย โดยร้อยละ 93 ของคนไทยใช้โทรศัพท์เพื่อจัดการธุรกรรมทางการเงิน

กรุงเทพฯ, 13 พฤศจิกายน 2566 – ทั่วประเทศไทยมีจำนวนผู้ใช้อุปกรณ์เคลื่อนต่าง ๆ เพื่อติดต่อสื่อสารและทำให้พวกเราทุกคนใกล้ชิดกันมากขึ้น เสริมให้การทำงานก้าวหน้า เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ และใช้ชีวิตได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น ชาวไทยในหลายครัวเรือนยังเรียนรู้ที่จะปกป้องตนเองและบุคคลในครอบครัวจากความเสี่ยงและอันตรายจากโลกออนไลน์

ปัจจัยขับเคลื่อนทั้ง 5 ประการนี้มาจากการศึกษา Digital Lives Decoded ของ Telenor Asia ซึ่งถือว่าเป็นปีที่สองแล้ว การศึกษานี้สำรวจผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือมากกว่า 8,000 ราย ในประเทศบังกลาเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ซึ่งสะท้อนภาพให้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อจะได้เข้าใจว่าการใช้โทรศัพท์มือถือช่วยให้ผู้คนทั่วเอเชียมีชีวิตดิจิทัลที่ดีขึ้นได้อย่างไร

ชาวไทยถือว่าเป็นหนึ่งในผู้ใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ตัวยงที่สุดในเอเชีย เกือบ 9 ใน 10 หรือร้อยละ 86 ที่ใช้เวลามากกว่าครึ่งวันบนมือถือ และร้อยละ 83 ที่คาดว่าจะมีการใช้งานเพิ่มขึ้นในอีก 1-2 ปีข้างหน้า ซึ่งสูงที่สุดในภูมิภาคนี้เลยก็ว่าได้ ในประเทศไทย คาดการณ์ได้ว่าผู้หญิงนั้นจะมีการใช้งานมากขึ้นกว่าผู้ชายอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากผู้หญิงก็มีแนวโน้มที่จะใช้ทักษะและความสามารถใหม่ๆ เพื่อความก้าวหน้าในสายงานหรือริเริ่มธุรกิจของตน

ข้อค้นพบที่โดดเด่นอีกประการหนึ่งในปีนี้คือ ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ท้าทายและสภาพแวดล้อมที่มีสภาวะเงินเฟ้อสูง คนไทยกำลังใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อจัดการค่าครองชีพที่สูงขึ้น คนไทยร้อยละ 93 ใช้โทรศัพท์เพื่อจัดการธุรกรรมทางการเงิน และส่วนใหญ่ใช้มือถือเพื่อเปรียบเทียบราคา (ร้อยละ 74) ค้นหาข้อเสนอที่ดีที่สุด (ร้อยละ 64) หรือติดตามการใช้จ่าย (ร้อยละ 49) ทั้งนี้อีกร้อยละ 93 ใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่เพื่อจัดการธุรกรรมทางการเงินทุกสัปดาห์ และ อีกร้อยละ 55 กำลังที่จะลงทุนออนไลน์เพื่อสร้างแหล่งรายได้ใหม่

คุณ Petter-Børre Furberg (เพตเตอร์ บอเร่ เฟอร์เบิร์ค), EVP and Head of Telenor Asia ได้กล่าวว่า “การศึกษาเรื่อง Digital Lives Decoded ครั้งแรกของเราเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่โลกกำลังฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดไปทั่วโลกของโรคโควิด-19 และกระแสการใช้งานทางด้านดิจิทัลก็ได้มีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้คนยังคงมีทัศนคติเชิงบวกอย่างท่วมท้นเกี่ยวกับผลกระทบที่การเชื่อมต่อผ่านมือถือเข้ามามีอิทธิพลอย่างมากต่อชีวิตของพวกเขา และในปีนี้ จากการศึกษาได้สะท้อนให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นซึ่งนั้นก็แสดงให้เห็นถึงโอกาสอันยิ่งใหญ่เกิดขึ้นเช่นกัน เราเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการทำงานในทุก ๆ วันนี้กลายเป็นแรงผลักดันหลักในการเพิ่มการใช้งาน เนื่องจากคนไทยต้องการที่จะแสวงหาวิธีการใหม่ๆ ที่นำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพ ประสิทธิภาพการทำงาน และเนื้องานของพวกเขา เพื่อยกระดับทักษะและความสามารถ อีกทั้งเสริมการเข้าถึงแหล่งรายได้เพิ่มเติม

เนื่องจากเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือกลายเป็นส่วนสำคัญของชีวิตของคนไทยมากขึ้น หลากหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีความจำเป็นต้องเข้าใจผู้คนและรู้ถึงข้อเสียที่อาจจะเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการเข้ามาของเป็นศูนย์กลางของเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ อีกทั้งเพื่อปลดล็อกศักยภาพสูงสุดของอุปกรณ์พกพาเหล่านี้ เราต้องทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไปเพื่อส่งเสริมการลงทุนในเครือข่ายการเชื่อมต่อ ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ และเพิ่มทักษะด้านดิจิทัลเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมออนไลน์ที่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น”

1. การสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมออนไลน์ที่ดี

ในขณะที่ประเทศไทยมีสถานการณ์ที่ดีขึ้นจากโรคระบาด แนวโน้มในการใช้งานอุปกรณ์ของผู้คนก็เริ่มเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น การใช้มือถือทำให้คนไทยรู้สึกได้รับข้อมูลข่าวสารและยังคงเชื่อมต่อการสื่อสารเข้าหากัน โดย Facebook ยังคงเป็นแอปพลิเคชัน ยอดนิยมในการเชื่อมต่อกับกลุ่มคน (ร้อยละ 57) และรับข้อมูลข่าวสาร (ร้อยละ 52) อย่างไรก็ตามมีแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในระยะเริ่มแรก โดยเกือบหนึ่งในแปดของเยาวชนไทยที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 29 ปีได้รับข่าวสารจาก TikTok

ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อพูดถึงระบบ 5G เหตุผลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดที่ผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทยระบุไว้คือการสตรีมวิดีโอหรือเพลง (ร้อยละ 84) ทำงานหรือเรียน (ร้อยละ 69) และเล่นเกม (ร้อยละ 66)

การเล่นเกมบนมือถือยังคงเป็นกิจกรรมอดิเรกยอดนิยม และผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยมีแนวโน้มมากที่สุดที่จะใช้โทรศัพท์เพื่อเล่นเกม โดยเกือบครึ่งของผู้เข้าร่วมให้ข้อมูลของรายงานหรือร้อยละ 44 กล่าวว่าพวกเขาใช้อุปกรณ์มือถือเพื่อเล่นเกมส์ในทุกๆวัน โดยค่าเฉลี่ยของระดับภูมิภาคที่อยู่ที่ร้อยละ 30

คนไทยถึงสามในสี่รู้สึกว่าตนมีสมดุลที่ดีในการใช้เทคโนโลยีและไม่ได้มีการใช้งานที่มากเกินไป อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้มือถือชาวไทยมีแนวโน้มที่จะรู้สึกหงุดหงิดมากกว่าผู้ใช้ในระดับภูมิภาค เมื่อไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือได้ถึงร้อยละ 55 เลยทีเดียว ซึ่งเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในภูมิภาคจะอยู่ที่ร้อยละ 39

2. การปลดล็อกโอกาสใหม่ๆ ในที่ทำงาน

ผู้ตอบแบบสำรวจชาวไทยเกือบครึ่งเชื่อว่าการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่สามารถช่วยส่งเสริมให้พวกเขามีความก้าวหน้าในการทำงานได้ (ร้อยละ 53) ช่วยในการเปลี่ยนอาชีพ (ร้อยละ 37) หรือการจัดตั้งธุรกิจของตนเอง (ร้อยละ 31) ซึ่งเป็นรากฐานของศักยภาพอันมหาศาลของการเชื่อมต่อผ่านมือถือ

ผู้ตอบแบบสอบถามยังคาดหวังการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อเร่งการทำงานในสถานที่ทำงาน สองในสามเชื่อว่าการใช้ generative AI ในการทำงานจะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนในอีก 6 เดือนข้างหน้า เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาเป็นสิ่งสำคัญในสถานที่ทำงาน และเกือบครึ่งหวังว่าจะได้เรียนรู้และเข้าใจในทักษะที่จำเป็นเพื่อสามารถใช้งานและเข้าถึงเครื่องมือ generative AI เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขันในอาชีพการงานของพวกเขา

ธุรกิจในไทยยังคงเปิดรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยกว่าร้อยละ 82 ระบุว่าองค์กรของพวกเขาสนับสนุนให้พนักงานใช้ generative AI ในที่ทำงาน มีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้นที่บอกว่าองค์กรของตนห้ามหรือไม่สนับสนุนการใช้ AI ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดในบรรดาประเทศที่ทำการสำรวจ ซึ่งค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 15

3. ประสบการณ์บนโลกออนไลน์ที่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

คนไทยมีความกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยบนโทรศัพท์น้อยที่สุดจากผลสำรวจซึ่งมีความโดดเด่นกว่าคู่แข่งในระดับภูมิภาคเป็นปีที่สองติดต่อกัน โดยในกลุ่มที่เป็นผู้ตอบแบบสอบถามอันดับต้น ๆ กล่าวว่าพวกเขาไม่ได้กังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้ถึงร้อยละ 21 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในระดับภูมิภาคอยู่ที่เพียงร้อยละ 8 เท่านั้น

อย่างไรก็ตามชาวไทยมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ของผู้สูงอายุ (ร้อยละ 75) และ เด็กเยาวชน (ร้อยละ 72) โดยพวกเขาเชื่อว่าวิธีที่ดีที่สุดในการให้ความรู้แก่สมาชิกในครอบครัวเกี่ยวกับความปลอดภัยทางออนไลน์คือการให้แนวทางสำหรับพฤติกรรมออนไลน์ (ร้อยละ 71) และการพูดคุยอย่างเปิดเผย (ร้อยละ 61)

อย่างไรก็ตาม ผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยมีการให้แสดงความกังวลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล (ร้อยละ 77) โดยเป็นการโจรกรรมข้อมูลส่วนตัว (ร้อยละ 69) และการคุกคามทางออนไลน์ (ร้อยละ 57) และบ่อยครั้งที่พวกเขาเผชิญกับข่าวปลอม การหลอกลวง และความรู้สึกติดกับโลกออนไลน์ ซึ่งพวกเขายังเผชิญกับการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ในระดับสูงสุดในภูมิภาค โดยเกือบครึ่ง (ร้อยละ 47) รายงานว่าพวกเขาประสบปัญหานี้อย่างน้อยเดือนละครั้ง

4. เข้าถึงการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง

การใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่เอื้อต่อโอกาสในการยกระดับทักษะและสร้างแหล่งรายได้ใหม่ทั่วประเทศไทย เกินครึ่งของผู้เข้าร่วม (ร้อยละ 57) ของผู้ตอบแบบสำรวจในปีนี้กล่าวว่าอุปกรณ์เคลื่อนที่ของตนยังคงเปิดประตูสู่การเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ซึ่งเป็นที่น่าสนใจที่เกือบร้อยละ 91 ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่าพวกเขาใช้มือถือเพื่อเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

โดยการเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ สามารถแบ่งได้ดังนี้ ทักษะด้านการสื่อสาร เช่น การเรียนรู้ภาษาใหม่ (ร้อยละ 67) และการจัดการโซเชียลมีเดีย (ร้อยละ 63) ซึ่งกลายเป็นทักษะที่ต้องการมากที่สุดในการเรียนรู้ผ่านอุปกรณ์มือถือ ทั้งนี้ความกระตือรือร้นในการเรียนรู้การจัดการโซเชียลมีเดียของคนไทยมีความโดดเด่นเป็นอันดับที่สูงที่สุดในการสำรวจ

โดยกว่าร้อยละ 72 กล่าวว่าพวกเขาต้องการใช้ทักษะที่มีเพื่อหารายได้เพิ่มเติม และแหล่งรายได้ใหม่ยอดนิยมที่เกิดจากการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่มาจากการลงทุนออนไลน์ (ร้อยละ 55) การขายในตลาดออนไลน์ (ร้อยละ 40) และการกลายเป็นนักสร้างคอนเทนต์ (ร้อยละ 38)

5. การลดผลกระทบของเราที่มีต่อโลก

ร้อยละ 71 ของผู้ตอบแบบสำรวจรู้สึกว่าการใช้โทรศัพท์มือถือช่วยให้พวกเขามีชีวิตที่ยั่งยืนมากขึ้นโดยการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการขนส่งสาธารณะ ลดความจำเป็นในการเดินทาง และลดการใช้กระดาษ แม้ว่าคนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 72) แสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้โทรศัพท์มือถือ แต่มีเพียงหนึ่งในสิบคนเท่านั้นที่ไม่ตระหนักถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากโทรศัพท์มือถือของตนเลย

ความตระหนักรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปล่อยก๊าซคาร์บอนสูงที่สุดในหมู่คนไทยในกลุ่มช่วงอายุ 18-29 ปี โดยร้อยละ 64 ระบุว่าตนตระหนักรู้ดี และ ร้อยละ 42 ระบุว่าตนกังวลอย่างมากเกี่ยวกับผลกระทบจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อสภาพภูมิอากาศ 4ใน 10 คนในกลุ่มอายุนี้กล่าวว่าสภาพภูมิอากาศและตำแหน่งความยั่งยืนของผู้ให้บริการโทรคมนาคมมีความสำคัญมากสำหรับพวกเขา และมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเลือกผู้ให้บริการของพวกเขา

– จบ –

ข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติม:

Report Microsite: https://www.telenorasia.com/digitallivesdecoded2023

Telenor-Asia-Roundtable-2023-1500.jpg

Email

Agent