วันอังคาร, พฤศจิกายน 5, 2024
ข่าวประชาสัมพันธ์

ปตท. ร่วมกับ GISTDA มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ต่อยอดธุรกิจดาวเทียม

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา – ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) (ที่ 2 จากซ้าย) พร้อมด้วย ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ. หรือ GISTDA) (ที่ 2 จากขวา) ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจความร่วมมือด้านธุรกิจใหม่จากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เพื่อแสวงหาโอกาสในด้านธุรกิจอวกาศทั้งห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำ (Upstream) อาทิ ระบบและบริการออกแบบและผลิตดาวเทียม การขนส่งวัตถุขึ้นสู่อวกาศ การสำรวจและวิจัยในอวกาศ การประยุกต์ใช้วัสดุคาร์บอนขั้นสูง (Advanced Carbon Material) จากกลุ่ม ปตท. เพื่อเทคโนโลยีอวกาศ ซึ่งก่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดไปยังธุรกิจปลายน้ำ (Downstream) ที่ครอบคลุมโครงสร้างพื้นฐานทางอวกาศ รวมถึงผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวเนื่องกับข้อมูลดาวเทียม ตลอดจนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาทิ การประเมินคาร์บอนในพื้นที่สีเขียว เพื่อนำไปสู่การแสวงหาโอกาสทางธุรกิจในอุตสาหกรรมดาวเทียมเพื่อเทคโนโลยีพลังงานใหม่ สอดรับกับวิสัยทัศน์ Powering Life with Future Energy and Beyond ของ ปตท.วันนี้ (15 ธันวาคม 2566) – ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) (ที่ 2 จากซ้าย) พร้อมด้วย ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ. หรือ GISTDA) (ที่ 2 จากขวา) ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจความร่วมมือด้านธุรกิจใหม่จากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เพื่อแสวงหาโอกาสในด้านธุรกิจอวกาศทั้งห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำ (Upstream) อาทิ ระบบและบริการออกแบบและผลิตดาวเทียม การขนส่งวัตถุขึ้นสู่อวกาศ การสำรวจและวิจัยในอวกาศ การประยุกต์ใช้วัสดุคาร์บอนขั้นสูง (Advanced Carbon Material) จากกลุ่ม ปตท. เพื่อเทคโนโลยีอวกาศ ซึ่งก่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดไปยังธุรกิจปลายน้ำ (Downstream) ที่ครอบคลุมโครงสร้างพื้นฐานทางอวกาศ รวมถึงผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวเนื่องกับข้อมูลดาวเทียม ตลอดจนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาทิ การประเมินคาร์บอนในพื้นที่สีเขียว เพื่อนำไปสู่การแสวงหาโอกาสทางธุรกิจในอุตสาหกรรมดาวเทียมเพื่อเทคโนโลยีพลังงานใหม่ สอดรับกับวิสัยทัศน์ Powering Life with Future Energy and Beyond ของ ปตท.

1702718098931.jpg

Email

Thida.T