วันอังคาร, พฤศจิกายน 5, 2024
ข่าวประชาสัมพันธ์

มจพ. เป็นเจ้าภาพประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืน พร้อมเป็นผู้นำในการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมุ่งสู่คาร์บอนในความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี ค.ศ. 2040

ศ.ดร.สุชาติ เซี่ยงฉิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการประจำปีเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย (Sun Thailand) กล่าวต้อนรับผู้เข้าประชุมวิชาการเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 8 (The 8th Annual Conference of Sustainable University Network of Thailand) ภายใต้ “Theme : Actions toward a carbon neutral society” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-16 กุมภาพันธ์ 2567 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายฯ ได้แลกเปลี่ยนและเรียนรู้ด้านความยั่งยืน พร้อมทั้งจัดกิจกรรมการประกวดผลงานด้านความยั่งยืนของนักเรียน นิสิต นักศึกษา คณาจารย์และบุคลากร และเป็นเวทีการนำเสนอผลงานวิจัยและกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน รศ. ดร.ณัฐพงศ์ มกระธัช ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาสิ่งแวดล้อมและกายภาพ มจพ. กล่าวรายงาน โดยได้รับเกียรติจาก คุณอภิชัย อร่ามศรี รองผู้ว่าราชการนนทบุรี กล่าวเปิดงานประชุมวิชาการเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 8 พร้อมด้วย ดร.ชนะ ภูมี President Sustainability SCG คุณชัยวุฒิ หลักเมือง ผู้ช่วยผู้ว่าการบริหารจัดการความยั่งยืน การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ผศ.ดร.กฤษชัย ศรีบุญมา รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนากิจการมหาวิทยาลัยเพื่อความยั่งยืน มจพ. และ ผศ. ว่าที่ร้อยตรี ดร.กิตติคุณ รุ่งเรือง ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย ประกาศเจตนารมณ์ ในการขับเคลื่อนนโยบาย Carbon Neutrality ให้บรรลุเป้าหมายในปี ค.ศ. 2040 ร่วมกันต่อไป เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ชั้น 3 อาคาร 50 ปี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟฝ.)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เป็น 1 ใน 16 มหาวิทยาลัยซึ่งได้ลงนามความร่วมมือเครือข่ายยั่งยืนของสถาบันการศึกษา ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิก จำนวน 47 แห่ง เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา ที่สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับประเทศและนานาชาติ มจพ. พร้อมเป็นผู้นำในการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี ค.ศ 2040 และเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ที่ได้น้อมนำศาสตร์พระราชาของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาใช้เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความยั่งยืน เพื่อป็นการบรรลุสู่เป้าหมาย Sustainable Development Goals (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ทั้ง 17 เป้าหมาย โดยมีเจตนารมณ์ที่จะประสานความร่วมมือระหว่างชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย รวมถึงสถาบันทางศาสนา กับภาคส่วนงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม 2567 กอปรกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือครบ 65 ปี (วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567)
นอกจากนี้ มจพ. มีเป้าหมายสูงสุดที่จะมีส่วนสำคัญในการผลักดันเรื่อง net zero CO2 โดยตอบสนองนโยบายของรัฐบาลสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ตามที่กำหนดเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สุทธิให้เป็นศูนย์ หรือ Net zero Emission ช่วยให้ประเทศชาติบรรลุการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (net zero CO2 2050) ให้ความสำคัญในการผลักดันเรื่อง net zero CO2 ด้วยความมุ่งมั่นต่อความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม โดยตั้งเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ตามนโยบายของประเทศไทยและสหประชาชาติ ในปี ค.ศ. 2050 ทั้งนี้ มจพ. เป็นสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มุ่งมั่นเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้ดำเนินการตามแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 13 ภายใต้ยุทธศาสตร์ มจพ. ดังนั้น มหาวิทยาลัยคาดหวังที่ต้องการบรรลุเป้าหมายของ Net Zero CO2 ได้อย่างแท้จริง และต้องอาศัยพลังความร่วมมือจากหลายภาคส่วนสามารถแบ่งปันความรับผิดชอบซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพลังงานสะอาดที่ยั่งยืนในอนาคต
กิจกรรมประกอบด้วย การบรรยายพิเศษ “SCG ESG Pathway เริ่มด้วยกัน เพื่อเรา เพื่อโลก” โดย ดร.ชนะ ภูมี President Sustainability SCG และนายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) การบรรยายพิเศษ เรื่อง “กฟผ. กับภารกิจความมั่นคงด้านพลังงาน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” โดย คุณชัยวุฒิ หลักเมือง ผู้ช่วยผู้ว่าการบริหารจัดการความยั่งยืน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จากนั้นลงพื้นศึกษาดูงาน “โครงการสามคลอง สามราชธานี” “โครงการสามคลอง สามราชธานี” ใน 5 เส้นทางดังนี้ 1) พระพุทธบาทลอยฟ้า พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดบางอ้อยช้าง ตามรอยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ชุมชนบ้านส่วยอ้อย 2) สำเร็จ บุญหนัก ศักดิ์ใหญ่ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ แดนอารยธรรมลุ่มน้ำสามคลอง สามราชธานี 3) แปลงใหญ่ทุเรียน อำเภอบางกรวย ความหลากหลายทางชีวภาพ จ.นนทบุรี 4) นกแก้วโม่ง วัดสวนใหญ่ การอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่านอกเขตอุทยาน ความหลากหลายทางชีวภาพ จ.นนทบุรี และ 5) ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ณ สำนักงานกลาง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

20240215095939_2C3A1111.jpg.1.jpg

Email

pr