ซีเอ็นเอช ประเทศไทย ขึ้นแท่นสถานที่ทำงานที่ยอดเยี่ยม มุ่งพัฒนาความหลากหลาย ยอมรับความแตกต่างและพร้อมสนับสนุนให้ผู้หญิงก้าวเป็นผู้นำในภาคเกษตรกรรมไทย
ซีเอ็นเอช ประเทศไทย ได้รับการยกย่องให้เป็นสถานที่ทำงานยอดเยี่ยม (Great Place to Work) ติดกัน 2 ปีซ้อน เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นในการสร้างและส่งเสริมความเสมอภาคขององค์กร เพื่อรองรับผู้ที่มีความสามารถจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ซีเอ็นเอช ผู้นำด้านอุปกรณ์และการบริการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการเกษตร มุ่งพัฒนาในหลากหลายด้าน เช่น การยอมรับความแตกต่างของพนักงาน และการส่งเสริมให้เกิดความเสมอภาคภายในองค์กร ผ่านโครงการต่างๆ ที่ไม่เพียงแค่เพิ่มอัตราการจ้างงานในกลุ่มผู้หญิงเท่านั้น แต่ยังสนับสนุนให้ผู้หญิงที่มีศักยภาพขึ้นมามีบทบาทในการเป็นผู้นำขององค์กรอีกด้วย
คุณวราภรณ์ จงจิตร หัวหน้าฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และญี่ปุ่นของซีเอ็นเอช กล่าวว่า “บริษัทของเราให้ความสำคัญกับการสนับสนุนพนักงานจากทุกภูมิหลัง และให้โอกาสทุกคนได้มีส่วนร่วม โดยไม่แบ่งแยกเพศหรือเชื้อชาติ เราได้เริ่มก่อตั้ง Employee Resources Group (ERG) เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ภายใต้ชื่อกลุ่ม iGlow เพื่อให้พนักงานได้แลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์เพื่อเรียนรู้และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รวมถึงสร้างเครือข่ายที่แข็งแกร่งและส่งเสริมความเป็นผู้นำในหมู่พนักงานหญิงของเรา โดยหลายโครงการที่ผ่านมา ช่วยส่งเสริมให้คนในทีมได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมและรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมากขึ้น”
กลุ่ม iGlow ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี 2020 โดยกลุ่มผู้บริหารหญิงที่บริษัทซีเอ็นเอช ภูมิภาคอเมริกาเหนือ โดยมีคุณชุน วอยเทร่า (Chun Woytera) ประธานภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกบริษัทซีเอ็นเอช เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ รวมทั้งสนับสนุนและส่งเสริมให้พนักงานหญิงได้แสดงศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มที่ รวมถึงการผลักดันให้พนักงานหญิงทุกคนได้รับการยอมรับและเข้ามามีบทบาทในองค์กรมากยิ่งขึ้น
ซีเอ็นเอช ได้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในด้านต่างๆ ของพนักงาน อีกทั้งยังสนับสนุนการพัฒนาสถานที่ทำงานและสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น การจัดให้มีห้องให้นมบุตร พร้อมด้วยโปรแกรมการพัฒนาการบริหารจัดการในหลากหลายด้านสำหรับพนักงานหญิงเพื่อพัฒนาขีดความสามารถเพิ่มขึ้น
คุณณัฐนันท์ กลิ่นหอม หรือ นัท ได้เข้าร่วมโปรแกรม Management Trainee ของบริษัทซีเอ็นเอช หลังจากที่ได้สำเร็จการศึกษาจากภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังได้ไม่นาน ก็ได้เข้ามาเป็นพนักงานฝึกหัด (Trainee) รุ่นบุกเบิกของบริษัท อีกทั้งยังเป็นผู้หญิงเพียงคนเดียวที่เข้ามาสมัคร ณ ขณะนั้น ซึ่งเรื่องราวของนัทก็ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าเพื่อนๆ ในสายงานของเธอ
นัทเล่าว่า “ทำงานครั้งแรกก็ไม่คิดว่าเขาจะให้ไปประกอบรถเลย ซึ่งเราต้องไปอยู่กับทีมช่างประกอบรถตัดอ้อย มันดูเป็นงานยากและเป็นงานหนักด้วย ซึ่งตอนนั้นมีทีมจากฟิลิปปินส์มาเยี่ยมชมโรงงาน แล้วเรากำลังประกอบชิ้นส่วนอยู่บนตัวรถ เขาก็ตกใจว่าทำไมที่นี่ถึงมีผู้หญิงมาประกอบรถตัดอ้อยด้วย”
นัทกล่าวเสริมว่า แม้ในทางปฏิบัติผู้หญิงอาจจะมีความลำบากอยู่บ้าง แต่หากเป็นเรื่องความรู้ความเข้าใจในเครื่องจักรนั้นไม่มีข้อจำกัดเรื่องเพศอย่างแน่นอน ซึ่งเธอกล่าวย้ำว่ายังมีวิศวกรการเกษตรหญิงเก่งๆ อีกมาก ที่ต้องการพื้นที่และโอกาสในการพิสูจน์ความสามารถของตนเอง
ตลอด 5 ปีในบริษัทซีเอ็นเอช ประเทศไทย นัทได้รับโอกาสในการพัฒนาความสามารถผ่านประสบการณ์การทำงานในหลากหลายตำแหน่งด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ Management Trainee, Customer Service Specialist, Part Technical Support, Warranty Assessor มาจนถึงตำแหน่งปัจจุบัน Connected Support Specialist ซึ่งได้ทำงานในห้องควบคุมที่เป็นส่วนสำคัญของโปรเจกต์ Precision Farming หรือการทำเกษตรแม่นยำของบริษัทอีกด้วย
“ในอนาคต เทคโนโลยีการเกษตรจะมีผลต่อวงการเกษตรกรรมไทยอย่างแน่นอน อีกทั้งยังเป็นแนวทางเสริมสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้ผู้หญิงได้ขึ้นมามีบทบาทโดดเด่นในสาขานี้ได้มากขึ้น” นัทกล่าว พร้อมยังสนับสนุนให้ผู้ที่มีความสนใจด้านวิศวกรรมและเกษตรกรรมมาร่วมกันพัฒนาศักยภาพของตัวเองให้ไปถึงจุดสูงสุด โดยนัทเชื่อมั่นว่า สักวันหนึ่งเราจะสามารถพัฒนาภาคเกษตรกรรมของประเทศไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน
ประเทศไทยมีผู้หญิงทำงานในภาคเกษตรกรรมถึงร้อยละ 45 จากข้อมูลขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)
เกี่ยวกับ ซีเอ็นเอช อินดัสเทรียล (CNH Industrial) (NYSE: CNHI / MI: CNHI)
เป็นบริษัทผู้นำด้านอุปกรณ์และการบริการเกี่ยวกับการเกษตรระดับเวิลด์คลาส ดำเนินธุรกิจด้วยจุดมุ่งหมายในการกล้าที่จะแตกต่าง (Breaking New Ground) โดยมุ่งพัฒนานวัตกรรม ความยั่งยืน และส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงาน บริษัทฯ วางแผนทิศทางในเชิงกลยุทธ์ การวิจัยและพัฒนา อีกทั้งยังเชี่ยวชาญด้านการลงทุนเพื่อความสำเร็จของแบรนด์ระดับภูมิภาคและระดับโลก ซึ่งในระดับโลกนั้น เคส ไอเอช (Case IH) และนิว ฮอลแลนด์ อะกริคัลเจอร์ (New Holland Agriculture) ดูแลการเกษตรอย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะในเรื่องเครื่องมือการทำงานไปจนถึงเทคโนโลยีดิจิทัลที่ช่วยยกระดับขีดความสามารถในการทำงานของเครื่องมือการเกษตรเหล่านี้ รวมถึงเคส (CASE) และนิว ฮอลแลนด์ คอนสตรัคชัน อิควิปเมนต์ (New Holland Construction Equipment) ซึ่งนำเสนอผลิตภัณฑ์การก่อสร้างครบวงจรที่ทำให้อุตสาหกรรมก่อสร้าง ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ นอกจากนี้ทางบริษัทฯ ยังมีแบรนด์ภายใต้การดูแลที่มุ่งเน้นทำการตลาดในระดับภูมิภาค ได้แก่ รถแทรกเตอร์ที่ ใช้ในการเกษตรแบรนด์สเตเยอร์ (STEYR), ผู้นำด้านการเกษตรดิจิทัล เทคโนโลยีความแม่นยำ และการพัฒนาระบบอัตโนมัติอย่างเรเวน (Raven), ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบไถพรวนและหว่านเมล็ด อย่างเฟล็กซี-คอยล์ (Flexi-Coil), โรงงานผู้ผลิตแบรนด์มิลเลอร์ (Miller), เครื่องมือไถพรวน หว่านเมล็ด หญ้าแห้ง และอาหารสัตว์แบรนด์คองสกิลด์ (Kongskilde) รถขุดขนาดเล็กและขนาดกลางสำหรับงานก่อสร้าง รวมถึงโซลูชันไฟฟ้าในแบรนด์ยูโรโคแมช (Eurocomach) ซีเอ็นเอช มีความเป็นมายาวนานกว่าสองศตวรรษ อีกทั้งยังเป็นผู้บุกเบิกในวงการเกษตรกรรมมาอย่างต่อเนื่องและยังคงมุ่งมั่นคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ พร้อมขับเคลื่อนประสิทธิภาพและความสำเร็จของลูกค้าในฐานะบริษัทระดับโลกอย่างแท้จริง พนักงานกว่า 40,000 คนทั่วโลกของบริษัท ซีเอ็นเอช ล้วนแล้วแต่มีความหลากหลายและความเสมอภาคกันในสถานที่ทำงาน และที่สำคัญคือมีเป้าหมายเดียวกันที่จะส่งเสริมศักยภาพของลูกค้าให้เติบโตและสร้างโลกใบนี้ให้ดีขึ้นร่วมกัน
ดูข้อมูลเพิ่มเติมและอ่านรายงานการเงินและความยั่งยืนฉบับล่าสุดได้ที่ cnhindustrial.com
ติดตามข่าวสารจากซีเอ็นเอช และแบรนด์ในเครือได้ที่ media.cnhindustrial.com
Apichaya Phothong