ข่าวประชาสัมพันธ์

ทีมโนซามาจากสิงคโปร์ คว้าแชมป์การแข่งขันนักพัฒนาหัวเว่ย ปี 2566

การแข่งขันนักพัฒนาหัวเว่ย (Huawei Developer Competition) ประจำปี 2566 ดึงดูดนักพัฒนาได้มากกว่า 19,000 คน จำนวน 3,000 ทีม จากกว่า 30 ประเทศและภูมิภาค เข้าร่วมแข่งขันรอบชิงชนะเลิศเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา

โดยรอบชิงชนะเลิศและพิธีมอบรางวัลของงานในธีม “Spark Infinity” สิ้นสุดลงอย่างประสบความสำเร็จที่ทะเลสาบซงซานของหัวเว่ยในเมืองตงกวน มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน

การแข่งขันระยะเวลา 5 เดือนของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมุ่งเน้นกลุ่มรากฐานระบบคลาวด์ สามารถดึงดูด 136 ทีมจาก 12 ประเทศและภูมิภาคเข้าร่วมงาน โดยมีผู้ส่งผลงานเข้าประกวด 116 ทีม

หลังจากที่ได้คัดเลือกอย่างเข้มงวดแล้ว 3 ทีมจากสิงคโปร์สามารถติด 9 อันดับแรกในกลุ่มการแข่งขันนักพัฒนาหัวเว่ยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้ ในขณะที่อีก 2 ทีมมาจากมาเลเซีย และจากฮ่องกง จีน อินโดนีเซีย ไทย และฟิลิปปินส์ แห่งละ 1 ทีม

ทั้ง 9 ทีมนำเสนอวิธีแก้ปัญหาในรอบสุดท้ายที่จัดขึ้นที่ทะเลสาบซงซาน

คุณคัง หนิง (Kang Ning) ประธานหัวเว่ย คลาวด์ อีโคซิสเต็ม (Huawei Cloud Ecosystem) กล่าวในสุนทรพจน์ว่า “เศรษฐกิจดิจิทัลทั่วโลกกำลังเฟื่องฟู โดยมีโมเดลพื้นฐานที่กำลังเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม นักพัฒนาซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของระบบนิเวศนี้ก็ได้สัมผัสโอกาสที่ไม่เคยมีมาก่อน หัวเว่ยพร้อมร่วมมือกับนักพัฒนาเพื่อสำรวจขอบเขตของการประมวลผลสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์หลากหลาย รวมถึงเอไอ (AI) และเทคโนโลยีคลาวด์เนทีฟ ซึ่งปูทางไปสู่อนาคตรูปแบบดิจิทัล”

ทีมโนซามา (Nozama) จากสิงคโปร์ ประกอบด้วยเซดริก คัว (Cedric Khua), ดาเรน ตัน (Daren Tan), แดเนียล ชู (Daniel Choo) และเกลนดา เตียว (Glenda Teo) คว้ารางวัลชนะเลิศและเงินรางวัล 10,000 ดอลลาร์สหรัฐด้วยผลงาน “แมจิก” (Magik) ที่มุ่งเน้นพัฒนาการของเด็กผ่านการเล่น

ทางทีมงานกล่าวในการนำเสนอว่า “เด็ก ๆ ต้องเล่น แต่เมื่อพ่อแม่ที่มีงานยุ่งใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ความบันเทิงแก่ลูก ๆ ก็จะนำไปสู่ผลเสีย เช่น สมาธิสั้นลง การเสพติด การกระตุ้นมากเกินไป การขาดทักษะด้านการเคลื่อนไหวและทักษะการแก้ปัญหา”

ทีมโนซามาเปิดเผยว่า แมจิกสามารถเติมเต็มช่องว่างระหว่างของเล่นทางกายภาพกับของเล่นดิจิทัล โดยนำเสนอประสบการณ์การเล่นแบบไฮบริด ผสมผสานประโยชน์ของสื่อการเล่นทั้ง 2 รูปแบบร่วมกัน เพื่อให้เกิดเกมที่น่าดึงดูดและสนุกสนานสำหรับเด็ก ๆ

ทีมเนติเซน (Netizen) จากประเทศไทยคว้าตำแหน่งรองชนะเลิศอันดับ 1 พร้อมเงินรางวัล 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ ทีมเนติเซนมุ่งเน้นบริการจัดส่งอาหารที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ธุรกิจต่าง ๆ เผชิญกับปัญหาซับซ้อนในทางบัญชีเพื่อกระทบยอดรายได้ที่ได้มา

โซลูชัน “กระบวนการกระทบยอดแบบอัตโนมัติ” ช่วยให้แผนกบัญชีตรวจสอบยอดที่ถูกกระทบยอดได้ และผู้บริหารสามารถดูสรุปยอดขายรายวันของแต่ละสาขาได้ในวันถัดไป

ทีมดีเซนทราเรตติง (DecentraRating) ของสิงคโปร์ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ ด้วยโซลูชันจัดการรีวิวปลอมและเนื้อหาที่เป็นอันตรายบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ

คุณแอนดี จิน หุย (Andy Jin Hui) รองประธานหัวเว่ย คลาวด์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Huawei Cloud APAC) และหัวหน้าฝ่ายการตลาดและการพัฒนาอุตสาหกรรม กล่าวสุนทรพจน์ว่าการแข่งขันนักพัฒนาหัวเว่ยเป็นโครงการริเริ่มระดับโลกที่เปิดกว้างสำหรับนักพัฒนาทั่วโลกที่มุ่งมั่นส่งเสริมความสำเร็จทางเทคโนโลยี ค้นหาโครงการและแอปพลิเคชันที่โดดเด่น และสร้างระบบนิเวศของนักพัฒนาที่เปิดกว้างและก้าวหน้าโดยมีคลาวด์เป็นรากฐาน

คุณแอนดี กล่าวว่า “น่าเสียดายที่โครงการดี ๆ หลายโครงการไม่ผ่านเข้ารอบคัดเลือก ซึ่งสมควรได้รับเสียงปรบมือและเรายินดีต้อนรับพวกเขาเข้าร่วมอีกครั้งในปีหน้า”

คุณแอนดียังประกาศว่า นอกเหนือจากโปรแกรมการแข่งขันหลักแล้ว หัวเว่ยยังจัดการฝึกอบรมเสริมศักยภาพด้านเทคนิค 2 ครั้ง โดยตอบคำถามกว่า 100 ข้อจากผู้เข้าร่วมงานในระหว่างการแข่งขัน

การแข่งขันครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประมาณ 400 คน ซึ่งถือเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่จากการตอบรับจากนักพัฒนา

โครงการที่น่าสนใจและโครงการที่มีพื้นฐานจากชุมชนที่ได้รับประโยชน์จากการบูรณาการกับแอปพลิเคชันต่าง ๆ ของหัวเว่ยนั้น ได้ปรากฏให้เห็นมากมายตลอดการแข่งขัน

ในบรรดาโครงการที่ผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายนั้น มีโครงการ “เนื้อหาที่สามารถรับชมได้ในภาษาพื้นเมือง” (Watchable Content in Native Language) จากประเทศไทย ซึ่งอาศัยแพลตฟอร์มเอไอของ Soca ที่ขับเคลื่อนการสื่อสารและการสร้างสรรค์ทุกภาษาอย่างราบรื่น

นอกจากนี้ทีมไซเบอร์วิซ (CyberWhiz) จากมหาวิทยาลัยปุตรามาเลเซีย (Universiti Putra Malaysia) นำเสนอระบบการยื่นเรื่องร้องเรียนที่โปร่งใสและใช้งานง่าย โดยเน้นย้ำถึงความจำเป็นของระบบการรายงานและร้องเรียนเรื่องหลุมบ่อและถนนที่ไม่ดีในประเทศ

ห้องปฏิบัติการสำหรับการจัดการสัตว์อัจฉริยะ (Laboratory for SMART Animal Management) ของมหาวิทยาลัยซิตี ยูนิเวอร์ซิตี ออฟ ฮ่องกง (City University of Hong Kong) มาพร้อมกับนวัตกรรมใหม่ที่ปฏิวัติการจัดการปศุสัตว์จากโซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วยเอไอ

นอกจากทีมและบุคคลที่ชนะในการแข่งขันจะได้รับรางวัลและเงินรางวัลแล้ว หัวเว่ยยังให้การสนับสนุนผ่านโครงการหลัก 4 โครงการ ได้แก่ โครงการนักพัฒนาหัวเว่ย (Huawei Developer Program), โครงการสปาร์ก (Spark Program), เอชซีดีจี (HCDG) และเอชซีเอสดี (HCSD)

ในพิธีมอบรางวัลนี้ หัวเว่ยยังได้มอบเกียรติบัตรตัวแทนโครงการหัวเว่ยคลาวด์ในมหาวิทยาลัย (Huawei Cloud Campus Ambassador) ให้กับผู้นำทีมนักศึกษา 9 อันดับแรกในการแข่งขันนี้

นักศึกษาที่ได้รับการคัดเลือกนั้นมีทั้งเฉา หยูซวน (Cao Yuxuan) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง (Nanyang Technological University of Singapore), เจ็ต มาคิลิง (Jet Maquiling) จากวิทยาลัยเอสทีไอแห่งฟิลิปปินส์ (STI College of Philippines), เซดริก คู ยัน ฮัน (Cedric Khu Yan Han) จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore), นิทิ มาเฮจาบีน ฮอสเซน (Nidhi Mahejabeen Hossain) จากมหาวิทยาลัยซิตี ยูนิเวอร์ซิตี ออฟ ฮ่องกง และมูฮัมหมัด อานัส โมด มาร์ซูกิ (Muhammad Anas Mohd Marzuki) จากมหาวิทยาลัยปุตรามาเลเซีย

หัวเว่ยมุ่งมั่นยกระดับการบูรณาการซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ เอดจ์ (Edge) อุปกรณ์ และคลาวด์ พร้อมร่วมมือกับระบบนิเวศการพัฒนา เพิ่มการลงทุนในนวัตกรรมด้านการวิจัยและพัฒนา และร่วมมือกับนักพัฒนาในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในระดับโลก

เป็นเวลากว่า 30 ปีแล้วที่หัวเว่ยมุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมทางเทคโนโลยี สร้างความก้าวหน้าครั้งใหม่ และใช้เทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนโลกไปข้างหน้า

การแข่งขันนักพัฒนาหัวเว่ยเปิดโอกาสครั้งยิ่งใหญ่ให้กับนักพัฒนาที่มีความทะเยอทะยานหลายร้อยคน เพื่อก้าวไปสู่จุดสูงสุดและเปิดรับโลกที่ท้าทาย

เกี่ยวกับหัวเว่ย คลาวด์

หัวเว่ย คลาวด์ (HUAWEI CLOUD) มุ่งมั่นสร้างระบบนิเวศที่เปิดกว้างและได้ประโยชน์ทุกฝ่ายที่ให้ความสำคัญกับนักพัฒนา ปัจจุบันหัวเว่ย คลาวด์ มีนักพัฒนาทั่วโลกมากกว่า 5 ล้านคน พันธมิตรมากกว่า 42,000 ราย และแอปพลิเคชัน SaaS ของร้านค้าบนคลาวด์มากกว่า 10,000 รายการ หัวเว่ย คลาวด์ ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมากกว่า 110 แห่งทั่วประเทศ เพื่อบ่มเพาะพัฒนาผู้เชี่ยวชาญหลายหมื่นคน และมีการบูรณาการการผลิต การเรียนรู้ การวิจัย และการประยุกต์ใช้ในเชิงลึก ส่งผลให้เกิดระบบนิเวศเทคโนโลยีหลักที่สามารถใช้งานได้ครอบคลุมรอบด้านและมีเสถียรภาพ ในยุคของการพัฒนาโมเดลขนาดใหญ่อย่างรวดเร็วนั้น หัวเว่ย คลาวด์ มาพร้อมชุดเครื่องมือวิจัยและพัฒนาโมเดลขนาดใหญ่อย่างผานกู่ (Pangu) ให้นักพัฒนานำไปใช้สร้างชุมชนโมเดลแบบเปิดและโรงเรียนคลาวด์โมเดลขนาดใหญ่ ซึ่งช่วยให้นักพัฒนาสามารถพัฒนาโมเดลขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว เพราะในอดีตที่ผ่านมานั้น การพัฒนาแบบจำลองขนาดใหญ่ที่มีพารามิเตอร์จำนวน 100,000 ล้านรายการแบบครบวงจรใช้เวลา 5 เดือน แต่ในปัจจุบันบริการคลาวด์เอไอที่ล้ำสมัยและชุดการพัฒนาแบบจำลองขนาดใหญ่ช่วยลดระยะเวลาเตรียมการพัฒนาเหลือเพียง 1 เดือน หัวเว่ย คลาวด์ หวังว่านักพัฒนาจะสามารถสร้างระบบนิเวศที่ก้าวหน้า โดยใช้เทคโนโลยีฐานรากของหัวเว่ย และใช้ประโยชน์จากพลังการประมวลผลของคลาวด์และความสามารถอันทรงพลังของโมเดลผานกู่ได้

ติดต่อเพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ชื่อ: แรนดี โลว์ (Randy Low)

ผู้จัดการฝ่ายการตลาด

หัวเว่ย คลาวด์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

อีเมล: [email protected]

ที่มา: หัวเว่ย เอแพค คลาวด์ (HUAWEI APAC Cloud)

ลิงก์ภาพประกอบข่าว:

ลิงก์: https://iop.asianetnews.net/view-attachment?attach-id=443345

คำบรรยายภาพ: ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ทีมโนซามาจากสิงคโปร์

ลิงก์: https://iop.asianetnews.net/view-attachment?attach-id=443347

คำบรรยายภาพ: ผู้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีมเนติเซนจากประเทศไทย และทีมดีเซนทราเรตติงจากสิงคโปร์

Email

Media123