ADVERTISEMENT

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคมที่ผ่านมา โกชัน ไฮเทค (Gotion High-tech) ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือกับนูออโว พลัส (Nuovo Plus) ธุรกิจในกลุ่ม ปตท. เพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุน บริษัท เอ็นวี โกชั่น จำกัด ในไทย (เรียกสั้น ๆ ว่า เอ็นวี โกชั่น) การร่วมทุนครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่การออกแบบ พัฒนา ผลิต ขาย รวมถึงส่งออกโมดูลแบตเตอรี่และชุดแบตเตอรี่ ทั้งยังมีเป้าหมายเพื่อสำรวจตลาดพลังงานใหม่ในอาเซียนและสร้างฐานการส่งออกแบตเตอรี่ในอาเซียน ปตท. เป็นบริษัทพลังงานและปิโตรเคมีในการกำกับดูแลของรัฐที่ใหญ่ที่สุดในไทย โดยความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยให้ไทยบรรลุเป้าหมายการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบและการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2608

ในช่วงเช้าของวันที่ 15 ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในข้อตกลงผ่านวิดีโอลิงก์ โดยคุณบุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐานกลุ่ม ปตท. และประธานคณะกรรมการนูออโว พลัส และคุณหลี่ เจิ้น (Li Zhen) ประธานโกชัน ไฮเทค เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ด้วย เพื่อเป็นสักขีพยานในพิธี

ตามข้อตกลงดังกล่าว โกชัน สิงคโปร์ จำกัด (Gotion Singapore PTE. Ltd) ในเครือโกชัน ไฮเทค บรรลุความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับบริษัท นูออโว พลัส จำกัด ในกลุ่ม ปตท. โดยวางแผนที่จะจัดตั้งบริษัท เอ็นวี โกชั่น จำกัด หรือเอ็นวี โกชั่น ในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ของไทย ขอบเขตธุรกิจของการร่วมทุนครั้งนี้ประกอบด้วยการออกแบบ การพัฒนา การตรวจสอบ และการผลิตโมดูลแบตเตอรี่และชุดแบตเตอรี่ ตลอดจนระบบการจัดการแบตเตอรี่สำหรับยานพาหนะและระบบจัดเก็บพลังงานที่หลากหลาย เอ็นวี โกชั่น วางแผนที่จะสร้างสายการผลิตชุดแบตเตอรี่พลังงานลิเธียมไอออนใน EEC โดยคาดการณ์ว่าสายการผลิตเฟสแรกจะเริ่มดำเนินการผลิตและจัดหาผลิตภัณฑ์แบตเตอรี่คุณภาพสูงสู่ท้องตลาดภายในไตรมาส 4 ของปี 2566 เอ็นวี โกชั่น จะสำรวจตลาดพลังงานใหม่ในประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างแข็งขัน พร้อมผลิตแบตเตอรี่ในระดับท้องถิ่นและการพัฒนาตลาดในไทย โดยบริษัทมุ่งมั่นที่จะสร้างฐานการส่งออกแบตเตอรี่ในอาเซียน

เกี่ยวกับโกชัน ไฮเทค

โกชัน ไฮเทค (Gotion High-tech) เป็นผู้ให้บริการโซลูชันพลังงานใหม่ชั้นนำของโลก โดยมุ่งความสนใจไปที่การวิจัยและพัฒนา การผลิตและการจำหน่ายแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนรถไฟฟ้า (EV) และแบตเตอรี่ ESS โดยติดอันดับต้น ๆ ในจีนและตลาดโลกในด้านความแข็งแกร่งที่ครอบคลุม ปัจจุบัน โกชัน ไฮเทค มีฐานการผลิตแบตเตอรี่ขนาดใหญ่กว่า 14 แห่งทั่วโลก และด้วยฐานวัสดุแบตเตอรี่ 5 แห่ง ธุรกิจของบริษัทจึงครอบคลุมห่วงโซ่อุปทานแบตเตอรี่ทั้งหมดตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ อันรวมไปถึงการรีไซเคิลแบตเตอรี่

รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/1969438/image_1.jpg

Email

media123